คูลลิ่งทาวเวอร์ระบบดูดลมเข้าแบบไหลสวนทาง (แบบทรงกลม) รุ่น : BCT

Bct 04
Bct 05
Bct 06

คูลลิ่งทาวเวอร์ชนิดนี้อาศัยหลักการที่ อากาศเคลื่อนที่สวนทางกับน้ำ หรือแบบไหลสวนทาง (Counter flow) โดยน้ำถูกกระจายผ่านหัวจ่ายน้ำ (Sprinkler Head) และท่อกระจ่ายน้ำ (Sprinkler Pipe) ที่หมุนตลอดเวลาโดยอาศัยแรงดันของน้ำ น้ำที่อุณหภูมิสูงจะเคลื่อนที่ลงผ่านพีวีซีฟิลเลอร์ (PVC Filler) ทำให้เกิดฟิล์มของน้ำบางๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนความร้อน อากาศที่เย็นจากภายนอกจะถูกดูดโดยพัดลมที่ติดตั้งอยู่ด้านบนของคูลลิ่งทาวเวอร์ เคลื่อนที่สวนทางขึ้นกับการเคลื่อนที่ลงของน้ำจึงก่อให้เกิดถ่ายเทความร้อนระหว่างน้ำกับอากาศ ทำให้อุณหภูมิของน้ำลดลง แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการเคลื่อนที่ที่สวนทางกันจึงทำให้ความต้านทานต่อการเคลื่อนที่ของอากาศมากกว่า แต่มีข้อดีคือประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำและอากาศเป็นไปได้ดีกว่า

 

โครงสร้างและองค์ประกอบของชิ้นส่วนต่างๆ

 

ชิ้นส่วน วัสดุที่ใช้
โครงสร้าง ทำด้วยเหล็กชุบสังกะสี (HOT DIP GALVANIZED) เหล็กแต่ละชิ้นยึดติดต่อกันด้วยน็อตชุบ เช่นเดียวกัน ผนังสองด้านทำด้วยไฟเบอร์กลาสเสริมแรงด้วยเส้นใย (FRP)
ตาข่ายช่องลมเข้า ทำจากพลาสติก PE มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้วัตถุแปลกปลอมชิ้นใหญ่ ถูกดูดเข้าไปในคูลลิ่งทาวเวอร์
ปล่องลมออก ทำด้วยไฟเบอร์กลาสและเสริมแรงด้วยเส้นใย (FRP) ติดตั้งอยู่ส่วนบนสุด มีลักษณะเป็นกรวยเล็กน้อยเพื่อให้อากาศร้อนไหลออกได้สะดวก
มอเตอร์ เป็นต้นกำลังที่ใช้ขับชุดใบพัด เนื่องจากลักษณะการทำงานต้องอยู่ในสถานที่เปียกชื้นจึงต้องเป็นมอเตอร์แบบปิด (Rating IP55) และกันน้ำได้สมบูรณ์ ชิ้นส่วนมอเตอร์ต้องทนต่อความชื้นได้ดี
เกียร์ทดรอบ คูลลิ่งทาวเวอร์ขนาดใหญ่ ต้องการอัตราการไหลของอากาศสูง ใบพัดจึงมีขนาดใหญ่ ความเร็วปลายใบพัดสูง เกิดเสียงรบกวนมาก จึงต้องมีการลดความเร็วรอบของใบพัด โดยทั่วไปมักใช้ระบบเกียร์ทดรอบหรือสายพานเป็นตัวทดรอบ ระบบเกียร์ทดรอบจะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า และบำรุงรักษาน้อยกว่า
ใบพัดลม ทำด้วยอลูมิเนียมหล่อ (ALUMINIUM ALLOY) มีหน้าที่ทำให้อากาศไหลผ่านตัวคูลลิ่งทาวเวอร์ เพื่อให้น้ำได้สัมผัสกับอากาศในปริมาณมากๆ จะทำให้การระบายความร้อนด้วยน้ำมีประสิทธิภาพสูงพัดลมที่เหมาะกับงานลักษณะนี้ คือ พัดลมแบบอากาศไหลผ่านตามแนวแกน (AXIAL FLOW FAN)พัดลมที่ดีจะต้องมีประสิทธิภาพสูง ไม่สั่นมาก แข็งแรงทนทาน ใช้งานได้อย่างอย่างปลอดภัย
ฐานมอเตอร์ ทำด้วยเหล็กชุบสังกะสี (HOT DIP GALVANIZED) ทำหน้าที่รองรับมอเตอร์และชุดเกียร์ให้สามารถทำงานได้อย่างมั่นคง ติดตั้งอยู่ด้านบนของปล่องลมออก และต้องมีตะแกรง (FAN GUARD) ติดตั้งอยู่ด้วยเพื่อป้องกันอันตรายจากใบพัดลม
อ่างรับน้ำ ทำด้วยไฟเบอร์กลาสและเสริมแรงด้วยเส้นใย (FRP) ทำหน้าที่รับน้ำเย็นที่ออกจากด้านล่างของฟิลเลอร์ น้ำเย็นนี้จะไหลไปรวมกันที่อ่างรับน้ำด้านล่าง ก่อนที่จะถูกดูดวนกลับไปใช้งาน ในการหล่อเย็นเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อีกครั้ง อ่างรับน้ำเย็นต้องจุน้ำได้มากพอ เมื่อเริ่มเดินเครื่องระดับน้ำจะต้องไม่ต่ำกว่าปากท่อน้ำออก และเมื่อหยุดเครื่อง น้ำจะไม่ล้นออกมา
ฟิลเลอร์ ทำด้วยพลาสติก PVC เป็นแผ่นบางและผ่านการขึ้นรูปเป็นลอนเล็กๆ น้ำที่ไหลผ่าน FILLER จะถูกแผ่ขยายออกเป็นพื้นที่กว้าง บาง และไหลช้าลง ทำให้อากาศกับน้ำมีโอกาสสัมผัสกันได้เต็มที่ และนานพอพอที่จะให้อากาศพาความร้อนออกไปได้มากที่สุด
แผ่นกันน้ำกระเด็น ทำจากไฟเบอร์กลาสและเสริมแรงด้วยใย (FRP) มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ กระเด็นหลุดลอยไปกับลม ทำให้ลดการสูญเสียน้ำลดลง