ทฤษฎี คูลลิ่งทาวเวอร์
คูลลิ่งทาวเวอร์ (Cooling Tower)
คูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอทำน้ำเย็น แบ่งออกตามลักษณะการหมุนเวียนของอากาศได้ 2 ระบบ คือ
1. ระบบดูดอากาศตามธรรมชาติ (Natural draft)
2. ระบบดูดหรือเป่าอากาศทางกล (Mechanical draft)
1. ระบบดูดอากาศตามธรรมชาติ (Natural draft)
2. ระบบดูดหรือเป่าอากาศทางกล (Mechanical draft)
ระบบดูดอากาศตามธรรมชาติจะให้อากาศเคลื่อนไหวตามธรรมชาติเมื่อได้รับความร้อน จะทำให้การไหลเวียนของอากาศเองในรูป1 เป็นการดูดตามธรรมชาติแบบฉีดเป็นฝอยละอองที่ด้านบน ซึ่งถ้าเป็นฝอยได้มากก็จะระบายความร้อนได้ดี แต่การที่ทำให้เป็นฝอยละอองมากๆ ต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบหัวฉีดและขึ้นอยู่กับความเร็วของอากาศหรือ ความเร็วลมที่พัดนั้นเอง ดังนั้นคูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอทำน้ำเย็นแบบนี้สมรรถนะของคูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอทำความเย็นจึงขึ้นอยู่กับความเร็วลมนั้นเองโดยทั่วไปจะติดตั้งคูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอทำน้ำเย็นแบบนี้ไว้กลางแจ้งเพื่อให้ลมพัดผ่านได้คล่อง ใช้สำหรับที่ที่ต้องการปริมาณน้ำระบายความร้อนสูงมาก เช่น โรงไฟฟ้า
รูป 1
ระบบดูดอากาศทางกลจะใช้พัดลมช่วยในการทำให้อากาศเคลื่อนไหว จึงเกิดการถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่า และลดขนาดของหอลงได้ แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
- คูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอทำน้ำเย็นชนิดเป่าอากาศเข้า (Forced draft) พัดลมจะติดอยู่บริเวณทางเข้าของอากาศ
- คูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอทำน้ำเย็นชนิดดูดอากาศออก (Induced draft) พัดลมจะติดอยู่บริเวณทางออกของอากาศ
รูป 2
รูป 3
เนื่องจากคูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอทำน้ำเย็นระบบดูดหรือเป่าอากาศทางกลมีพัดลมหรือ blower พัดพาอากาศจึงสามารถติดตั้งไว้ที่ร่มได้ และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพคูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอทำน้ำเย็นขนาดเดียวกันแล้วแล้วระบบทางกลจะให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่าแบบธรรมชาติและสามารถแบ่งย่อยตามทิศทางการแลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำและอากาศได้อีก 2 แบบ คือ
1. คูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอทำน้ำเย็นแบบอากาศและน้ำเคลื่อนที่ตัดกัน (Cross flow) โดยน้ำจะเคลื่อนที่ผ่านแผงกระจายละอองน้ำ (Filler) ในแนวดิ่ง และอากาศจะเคลื่อนที่ผ่านในแนวนอน ข้อดีคือเกิดความต้านทานการเคลื่อนที่ของอากาศน้อยกว่า และใช้แรงม้าของพัดลมน้อยกว่า แต่ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนไม่สูงนัก จึงนิยมใช้ระบายความร้อนปริมาณปานกลาง
ดูรูป 4
ดูรูป 4
รูป 4
2. คูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอทำน้ำเย็นแบบอากาศเคลื่อนที่สวนกับน้ำ (Counter flow) โดยน้ำจะเคลื่อนที่ผ่านแผงกระจายน้ำละอองน้ำ (Filler) ในแนวดิ่ง และอากาศจะเคลื่อนที่สวนขึ้นกับการเคลื่อนที่ของน้ำ จึงก่อให้เกิดความต้านทานต่อการเคลื่อนที่ของอากาศมากกว่า แต่ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนของน้ำและอากาศเป็นไปได้ดีกว่า
ดูรูป 5
ดูรูป 5
รูป 5
การบำรุงรักษา (Maintenance)
Spare Part/อะไหล่ | Description/รายละเอียด |
ใบพัด (Fan Blade & Hub) | →ตรวจเช็คดูว่าน๊อตหลวม หลุด หรือไม่ →ตรวจเช็คสภาพใบ ว่ามีการ บิ่น ร้าว หรือ คดงอหรือไม่ |
เกียร์ (Gear) | →ฟังเสียงผิดปกติของเกียร์ →ดูการรั่วซึมของน้ำมันเกียร์ ที่เพลาใบพัด รอยต่อของเสื้อเกียร์ หน้าแปลนมอเตอร์ →ตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ มีน้ำผสมอยู่ในน้ำมันเกียร์หรือไม่ |
ฟิลเลอร์ (Filler) | →ทำความสะอาดโดยการใช้น้ำฉีดล้างภายในตัวคูลลิ่งทาวเวอร์ |
อ่างน้ำร้อน - เย็น (Water Basin) | →ทำความสะอาดโดยใช้แปรงขัด รวมถึงบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ด้วย และใช้น้ำฉีดล้าง |
ผนัง (Tower Case) | →ทำความสะอาดโดยใช้แปรงขัดภายใน ตรวจสอบรอยรั่วซึมระหว่างแผ่นต่อ และใช้น้ำฉีดล้าง |
โครงสร้าง (Structure) | →โครงสร้างที่เป็นเหล็ก สามารถเกิดการผุกร่อนได้ ดังนั้นต้องหมั่นตรวจสอบ ถ้ามีสนิมมาก ควรทำความสะอาด และทาสีใหม่ รวมถึงตรวจสอบการผุกร่อนของน๊อตที่ใช้ยึดชิ้นส่วนต่างๆ ด้วย |